ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สวนยางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม...จุดเปลี่ยนสู่อนาคตที่สดใส


ปัจจุบันกระแสการอนุรักษ์ ปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้เข้ามามีบทบาทความสำคัญในการซื้อขายสินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐอเมริกา ได้บัญญัติกฎหมายที่เข้มงวดเพิ่มเติมหลายฉบับเกี่ยวกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมของสินค้าที่นำเข้ามาจำหน่าย เชื่อว่าในอนาคตอีกไม่นานจะมีอีกหลายประเทศนำกฎระเบียบดังกล่าวมาบังคับใช้เช่นกัน


ยางพารา” พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายดังกล่าวด้วย

ประเทศไทย เป็นประเทศผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่อันดับ 1 ของโลก แต่ละปีส่งออกมากกว่า 4 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 200,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มาจากยางพารา ไม่ว่าจะเป็นยางรถยนต์ ถุงมือยาง เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา และอื่น ๆ คิดเป็นมูลค่ามหาศาล ดังนั้นประเทศไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการจัดการตั้งแต่กระบวนการปลูกสร้าง การจัดการสวนยาง และการแปรรูปยางตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราของไทยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อจะสามารถส่งไปขายในกลุ่มประเทศดังกล่าวได้

 


หากไม่เร่งดำเนินการ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราก็จะขายไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยาง และเศรษฐกิจของประเทศอย่างแน่นอน

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)  เปิดเผยว่า อียู และสหรัฐอเมริกา ได้นำมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน มาเป็นเงื่อนไขนำเข้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยได้บัญญัติเป็นกฎหมายว่า จะต้องมาจากสวนยางที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ ไม่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าหลังจากปี 2562 (ค.ศ. 2019) รวมทั้งมีการจัดการสวนยางพาราที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน โดยจะต้องแสดงแหล่งกำเนิดของผลผลิต และสามารถตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ได้


ดังนั้นเพื่อให้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราของไทยสามารถส่งไปขายในกลุ่มประเทศดังกล่าวได้ กยท. เร่งขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม 2 เรื่องใหญ่ ๆ ด้วยกัน

เรื่องแรก คือ การพัฒนาปรับปรุงสวนยางพาราของไทย ให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มอก. 14061 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปีกยท.จะเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางปรับปรุงพัฒนาสวนยางพาราให้ผ่านมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มอก.1406 โดยในระยะแรกตั้งเป้าไว้ภายในปี 2571 สวนยางพาราที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท. อย่างน้อยครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 10 ล้านไร่ จะต้องผ่านมาตรฐาน มอก.14061” ผู้ว่าการ กยท. กล่าว

สำหรับมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มอก. 14061 นั้น จะครอบคลุมตั้งแต่การปลูก การดูแล ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการจัดการเพื่อรักษาและส่งเสริมสภาพความสมบูรณ์ของสวนป่าไม้เศรษฐกิจในระยะยาว การปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการป้องกันสวนป่าจากการทำผิดกฎหมายต่าง ๆ เช่น การลักลอบตัดต้นไม้ การเผาป่า การใช้ที่ดินอย่างผิดกฎหมาย ควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และอำนวยประโยชน์แก่ชุมชนในพื้นที่อีกด้วย ซึ่งจะสอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนสากล ไม่ว่าจะเป็น   Forest Stewardship Council (FSC) หรือ Program for the Endorsement of Forest Certification (PEFC)

ดังนั้น ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราที่มาจากสวนยางที่ผ่านมาตรฐานดังกล่าว จะสามารถส่งไปขายใน อียู และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งประเทศที่ทำเงื่อนไขการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาใช้เป็นกฎระเบียบในการนำเข้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราได้อย่างแน่นอน และยังเป็นโอกาสทองเกษตรกรของที่จะสามารถขายยางได้ในราคาสูงกว่าราคาตลาดทั่วไป เบื้องต้นคาดว่าไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 3 บาท ที่สำคัญจะมีตลาดรับซื้อแน่นอน เพราะขณะนี้มีผู้ประกอบธุรกิจที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบหลายรายได้ติดต่อเจรจากับ กยท. และลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในการจัดหายางที่ผ่านมาตรฐานสากลให้กับบริษัทผู้แปรรูปยางรายใหญ่แล้ว

นอกจากนี้การปรับปรุงพัฒนาการจัดการสวนยางให้ได้มาตรฐานสากล ยังจะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ต้นทุนการผลิตจะลดลงในระยะยาวอีกด้วย


ส่วนเรื่องที่ 2 ที่ กยท. จะเร่งดำเนินการคือ "มาตรการแสดงแหล่งกำเนิดของผลผลิต" หรือ "มาตรการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)” เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งกำเนิดผลผลิตยางและผลิตภัณฑ์จากยางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และรวดเร็ว

ขณะนี้ กยท. มีความพร้อมในการขับเคลื่อนมาตรการดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยจะนำเอา GIS (Geographic Information System)  หรือระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นระบบการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดยจะแสดงในรูปของภาพแผนที่ มาใช้ในการแสดงแหล่งที่มาของผลผลิตว่า ยางพารามาจากแหล่งกำเนิดใด ควบคู่ไปกับระบบแอปพลิเคชัน RUBBERWAY ที่ใช้ในการตรวจสอบการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนที่ให้ความสำคัญกับสังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

มาตรการดังกล่าว จะไม่ใช่บังคับแค่ อียูและสหรัฐอมริกาเท่านั้น ในอนาคตประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดรับซื้อยางรายใหญ่ของไทยก็จะต้องนำมาใช้บังคับในการซื้อยางด้วยอย่างแน่นอน เพราะจีนจะต้องส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยางเป็นวัตถุดิบ โดยเฉพาะยางล้อรถยนต์ ไปยังตลาดอียู และสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการตรวจสอบย้อนกลับเช่นกัน 

มาตรการแสดงแหล่งกำเนิดของผลผลิต และผลิตภัณฑ์ยางพารา รวมทั้งการพัฒนาการจัดการสวนยางพาราของไทยให้ได้มาตรฐานสากล จะช่วยสร้างผลดี และประโยชน์อย่างมาก ทั้งต่อผู้ซื้อ ที่ทำให้รู้แหล่งกำเนิดว่า ยางพารามาจากสวนที่มีกระบวนการจัดการที่ได้มาตรฐานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้น ในขณะที่ผู้ขาย ก็จะเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน มีศักยภาพเหนือคู่แข่ง เพราะประเทศคู่แข่งในการส่งออกยางพาราของไทย เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว กัมพูชา ยังไม่ดำเนินการใด ๆ ในเรื่องดังกล่าว และยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงอีกด้วย ในขณะที่ประเทศไทยมี กยท. รับผิดชอบโดยตรง และมีความพร้อมในการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งจะเป็นโอกาสทองของยางพาราไทยในการขยายตลาด และยกระดับขึ้นสู่ตลาดยางพรีเมียม ประเทศผู้นำเข้ายางจะต้องแห่มาซื้อยางจากประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ราคายางของไทยในอนาคตมีเสถียรภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน”  นายณกรณ์กล่าวย้ำ

นอกจากนี้ มาตรการส่งเสริมพัฒนาการจัดการสวนยางพาราให้ได้มาตรฐานสากล และมาตรการแสดงแหล่งกำเนิดของผลผลิตดังกล่าว  ยังไปสนับสนุนการขับเคลื่อนมาตรการ “Zero Carbon” ในภาคการเกษตรอีกด้วย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ก๊าซเรือนกระจก มีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิโลก หากมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากเกินไปจะก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็น ภัยแล้ง น้ำท่วม แผ่นดินไหว ซึ่งก๊าซที่จะให้เกิดภาวะเรือนกระจกที่รู้จักกันดีคือ คาร์บอน หรือคาร์บอนใคออกไซด์ (C02) ดังนั้นการลคคาร์บอน จึงมีส่วนสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก


 ทั้งนี้จากการวิเคราะห์เบื้องต้นพบว่า สวนยางที่มีระบบการจัดการที่ได้มาตรฐานสากล นอกจากจะเป็นสวนยางที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Zero Carbon )แล้ว ยังจะสามารถกักเก็บคาร์บอนได้อีกด้วย ซึ่งการกักเก็บคาร์บอนของสวนยางดังกล่าว สามารถสร้างเป็น Carbon Credit นำมาซื้อ-ขาย เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง

Carbon Credit จะมีบทบาทสำคัญในการส่งออกสินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะส่งออกไปตลาด อียู ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ อียูใด้เคาะมาตรการจัดเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกก่อนข้ามพรมแดนสำหรับสิบค้านำเข้า (CBAM ) เพื่อเก็บภาษีเพิ่มสำหรับสินคำนำเข้าที่ ไม่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต โดยการอนุญาตให้นำ Carbon Credit ที่ซื้อมาหักล้างกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกไป เพื่อทำให้โดยรวมแล้วระดับการปล่อยก็ซเรือนกระจกไม่เกินที่กฎหมายกำหนดไว้

ดังนั้นเกษตรกรชาวสวนยางก็จะสามารถขาย Carbon Credit ได้ เพราะสวนยางพารานั้นมีความคล้ายคลึงป่าไม้ที่เป็นแหล่งดูดชับคาร์บอนตามธรรมชาติด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสงที่ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่จะต้องเป็นสวนยางที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์เท่านั้น     

กยท. มืนโยบายที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาสวนยางให้ได้มาตรฐานอยู่แล้ว ดังนั้น การที่พัฒนาต่อ ยอดให้เป็นสวนยาง Zero Carbon ด้วยจึงไม่ยากเกินไป ที่สำคัญยังจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพราะนอกจากช่วยลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมแล้วและยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งยังจะทำให้เกษตรกรชาวสวนยางจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขาย Carbon Credit ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชน อันจะไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ผู้ว่าการ กยท.กล่าว

หากเกษตรกรสามารถพัฒนาการจัดการสวนยางพาราให้ได้มาตรฐานสากลแล้ว ไม่ว่าประเทศผู้นำเข้ายางจะนำมาตรการใด ๆ มาบังคับ จะไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรเลย ในทางตรงข้ามกลับจะเป็นมาตรกรที่ส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกรสามารถขายยางได้ในราคาที่สูงขึ้น ยกระดับตลาดยางพาราของไทยเหนือคู่แข่ง ซึ่งจะทำให้ราคายางมีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน...








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...