ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มแล้ววันนี้! มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567


ศุภมาสฯ เน้นย้ำบทบาทวิทยาศาสตร์ และวิจัยและนวัตกรรม ช่วยไทยก้าวข้ามวิกฤติ สร้างอนาคตที่มั่นคง  ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567


วันที่ 26 สิงหาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” นำเข้างาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo)“ ครั้งที่ 19 ภายใต้แนวคิด "สานพลังงานวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน" พร้อมมอบโล่และประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ โดยมี รมว.อว. ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ คณะผู้บริหาร นักวิจัย คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ




นางสาวศุภมาส อิศรภักดี กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คือกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวข้ามความท้าทายในยุคปัจจุบัน การลงทุนในด้านนี้จะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนากำลังคน สนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จริง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ตลอดจนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่ความเป็นสังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืนและมีความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล ทั้งนี้ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณและสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนา





ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง กล่าวว่า วช. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั่วประเทศ จัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo) ครั้งที่ 19 ขึ้น ภายใต้แนวคิด "สานพลังงานวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน" เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมกว่า 983 ผลงาน ผ่านนิทรรศการและการประชุมสัมมนาหลากหลายหัวข้อ โดยมีไฮไลท์คือเวทีนำเสนอผลงานวิจัยที่มีศักยภาพพร้อมใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และการมอบรางวัลให้แก่หน่วยงานและนักวิจัยที่มีผลงานโดดเด่น พิธีเปิดงานจะจัดขึ้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานนี้เป็นเวทีสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิจัยของไทย และเป็นการตอกย้ำความสำคัญของการวิจัยในการขับเคลื่อนประเทศสู่ความยั่งยืน





มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 ถือเป็นเวทีสำคัญที่รวบรวมผลงานวิจัยและนวัตกรรมชั้นนำของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศและสังคม ภายในงาน มีผลงานมาจัดแสดงกว่า 983 ผลงาน อาทิ หุ่นยนต์ยางพาราระบบเคเบิ้ล  ทุ่นลองติดตามมวลน้ำด้วยสัญญาณคลื่นวิทยุและแอพพลิเคชัน ทำนายการเคลื่อนตัวของขยะ อัตลักษณ์สิ่งทอเศรษฐกิจจังหวัดบุรีรัมย์ สู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัย, ผลิตภัณฑ์ยาอดยาบ้าชนิดเม็ด, พลิกฟื้นทุนวัฒนธรรมของเชียงราย สู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ UNESCO, น้ำปลาแท้ลดโซเดียมและโพแทสเซียม 40%, ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเปปไทด์จากหอยเชอรี่ สถาบันปัญญาภิวัฒน์, หัวเชื้อน้ำมันดีเซล ลดฝุ่น PM2.5, สะตอสะเด็ดน้ำ เป็นต้น



การจัดงานในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลและภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 


ทั้งนี้ผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://researchexporegistration.com/ ได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2567 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น










 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...