ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2019
กยท. ลงพื้นที่ให้ความรู้และติดตามสถานการณ์โรคใบร่วงชนิดใหม่แก่พนักงาน กยท. เขตใต้ล่าง พร้อมนำร่องบินโดรน ทดสอบการใช้สารกำจัดเชื้อรายับยั้งโรคใบร่วง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ลงพื้นที่ให้ความรู้และติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. แก่พนักงาน กยท. เขตภาคใต้ตอนล่าง และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ นำร่องทดสอบการใช้โดรนพ่นสารกำจัดเชื้อรา ยับยั้งการแพร่กระจายของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในพื้นที่ 300 ไร่ พร้อมเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือวิธีการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค เตรียมจ่อเสนอบอร์ด กยท. หามาตรการช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติม ในเดือน พ.ย. นี้ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านธุรกิจและปฏิบัติการ เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาดของโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ในเขตพื้นที่ปลูกยางพาราภาคใต้ตอนล่างในขณะนี้ว่า หลังจากที่ทาง กยท. ได้รับรายงานการระบาดของโรคใบร่วงชนิดนี้ ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยจังหวัดนราธิวาสซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกยางแห่งแรกที่พบการติดเชื้อ คาดว่าเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่เคยเกิดการระบาด...
กลุ่มมิตรผล เผยดัชนีความสุขชาวไร่อ้อยในโครงการทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะ สุข สูงถึง 80% มุ่งสานต่อทุกมิติของความสุขให้เกษตรกรไทยพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน “อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่สามารถประสบความสำเร็จและมีความสุขได้ไม่แพ้อาชีพอื่น” คำกล่าวจากเกษตรกรรายหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ตลอดทั้งปี จากการเข้าร่วมโครงการ “ทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะ สุข” กับกลุ่มมิตรผล ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ด้วยหลักปรัชญา “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” ที่กลุ่มมิตรผลยึดถือเป็นแนวปฏิบัติเพื่อดูแลชุมชนและชาวไร่อ้อยมานานกว่า 63 ปี พร้อมความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยให้สามารถเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน จึงเกิดเป็นโครงการ “ทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะ สุข” ซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี 2560 โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ พร้อมเชิญชวนให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยแบ่งพื้นที่มาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ควบคู่กับการทำไร่อ้อยในพื้นที่ของตัวเอง เพื่อวางรากฐานการพึ่งพาตนเองและสร้างความสุขที่ยั่งยืน จวบจนวันนี้เมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืนที่ร่วมกันปลูกได้ผลิดอกออกผลเป็นผลลัพธ์แห่งความสุขที่มีตัวเลขดัชนีความสุขในครัวเรือ...
แม็คโคร ผนึกสถาบันโภชนาการ มหิดล นำข้อมูลโภชนาการอาหารต่อยอดผักผลไม้ปลอดภัย บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกความร่วมมือกับ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล นำผลงานข้อมูลคุณค่าโภชนาการอาหาร เสริมอาหารปลอดภัย เชื่อมระบบตรวจสอบย้อนกลับผ่านคิวอาร์โค้ท ( i-Trace) ประเดิมที่ผักผลไม้กว่า 120 ชนิด ภายใต้แบรนด์ MQP ย้ำแม็คโครแหล่งรวมวัตถุดิบอาหารคุณภาพปลอดภัย ตอบโจทย์ผู้ประกอบการยุคกระแสสุขภาพมาแรง นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “แม็คโคร มุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นมาตรฐานอาหารปลอดภัยในกลุ่มสินค้าอย่าง ผัก ผลไม้ อย่างต่อเนื่อง โดยทีมตรวจสอบคุณภาพ ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกรและหน่วยงานภาครัฐในการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับสถาบันวิชาการด้านอาหารต่างๆ รวมถึงสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีงานวิชาการ และฐานข้อมูลทางด้านคุณค่าโภชนาการที่ได้รับการยอมรับ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง จึงนำมาซึ่งการลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาฐาน...
วว. โชว์ผลสำเร็จ Circular Economy ตามนโยบาย BCG Model จากโครงการนำวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเกษตรฯ สร้างมูลค่าทางธุรกิจกว่า 1 ลบ.ต่อเดือน นายประยงค์ เยื่อแม้นพงศ์ (ที่2 จากซ้าย) และนายสายันต์ ตันพานิช (ที่ 2 จากขวา) เศรษฐกิจหมุนเวียน ( Circular Economy ) คือ แนวคิดการนำทรัพยากรที่ถูกใช้แล้วกลับมาแปรรูปและนำกลับมาใช้ใหม่ เน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็น จากการขยายตัวของประชากรโลกและปัญหาการจัดการขยะ     สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งดำเนินงานภายใต้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน . ) สร้าง มูลค่าเพิ่ม value added และ value creation เป็นฟันเฟืองสำคัญในการวิจัยพัฒนา ต่อยอด คัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม สร้างรายได้แก่ชุมชน ผู้ประกอบการและประเทศ ผ่านการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต สู่การนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ โดยทั่วไปการ...
เผยโฉมศรีสะเกษ 2 มะเขือเทศสีดาพันธุ์ใหม่ให้วิตามินซีสูง กรมวิชาการเกษตร ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศสีดารับประทานผลสด ชี้จุดขายพันธุ์ใหม่ให้วิตามินซีสูงโดนใจสายสุขภาพ แถมผลผลิตยังสูงกว่าพันธุ์การค้าและพันธุ์ของเกษตรกร รสเปรี้ยวนำเหมาะสำหรับทำส้มตำ นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร   เปิดเผยว่า มะเขือเทศสีดาเป็นมะเขือเทศที่มีสีแดงอมชมพู มีน้ำมาก เนื้อหนาและแน่น น้ำหนักเฉลี่ย 40 กรัม ผลมะเขือเทศสีดาปลูกและผลิตได้ตลอดปีในทุกภาคของประเทศไทย   โดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครพนม สระบุรี และนครราชสีมา สำหรับพันธุ์การค้าของมะเขือเทศสีดาที่เกษตรกรปลูกกันแพร่หลายในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ของบริษัทเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ แต่เนื่องจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมมีกระบวนการที่ซับซ้อนและเป็นผลประโยชน์ทางการค้า  ทำให้เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศสีดาลูกผสมมีราคาสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ผสมเปิดถึง 7.5 เท่า หรือสูงกว่า 600 บาท/ไร่  ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ   กรมวิชาการเกษตร ได้ผสมพันธุ์และคัดพันธุ์มะเขือเทศสีดา...